ขึ้นตอนและกระบวนการ


กระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติสหกิจ

1.กระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติสหกิจ
      1. การสมัครงานสหกิจศึกษา
           -  นักศึกษาสามารถสมัครเลือกสถานที่ปฏิบัติสหกิจได้ตามความสนใจครั้งละ 1 แห่ง โดยปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ประจำสาขา
      2. นักศึกษาแจ้งความจำนงไปปฏิบัติสหกิจ โดยกรอกข้อมูลในระบบสหกิจศึกษาออนไลน์ (ดำเนินการก่อนการปฏิบัติสหกิจศึกษาก่อนภาคการศึกษา 1 ภาคการศึกษา)
      3. นักศึกษาติดต่อองค์กร/ หน่วยงาน/ สถานประกอบการ และได้รับการตอบรับ
      4. นักศึกษาแจ้งความจำนงไปปฏิบัติสหกิจ โดยกรอกข้อมูลในระบบสหกิจศึกษาออนไลน์ http://coedu.polsci.pn.psu.ac.th/
      5. นักศึกษาปฏิบัติสหกิจศึกษาดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย
      6 นักศึกษาจัดทำรายงานและรายงานผลการศึกษาโครงงานสหกิจศึกษาแก่หน่วยงาน
      7 นักศึกษาได้รับผลการประเมิน

2.รูปแบบและโครงสร้างโครงงานสหกิจศึกษา

      โครงสร้างโครงงานสหกิจ (แบบชิ้นงาน)

            บทที่ 1 ข้อมูลขององค์กร ประกอบด้วย ภารกิจ วิสัยทัศน์ โครงสร้างองค์กร ท้ายบท นศ ระบุ ภารกิจที่ตนเองได้รับมอบหมาย และชื่อโครงงาน
            บทที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน ตย เช่น โครงงานสื่อประชาสัมพันธ์การใช้กำไลอีเอ็ม สนง คุมประพฤติข้อมูลในบทนี้จะเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์ระเบียบการใช้กำไลอีเอ็ม ขั้นตอนต่างๆ
            บทที่ 3 นำเสนอโครงงาน /ผลงาน ที่จัดทำให้แก่องค์กร ถ้าเนื้อหาของบทที่ 2 เยอะ อาจจะเพิ่มเป็น บทที่ 3 และขยับการนำเสนอไปเป็นบทที่ 4
            บทสุดท้าย ภาคผนวก แสดงการใช้ประโยชน์ของโครงงาน นำเสนอในรูปแบบภาพถ่าย หรือ จม ราชการ ตย จม ของสำนักงานขอให้ อปท เผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ดังกล่าว กระบวนการในส่วนนี้ เป็นการทำให้เห็นว่า ผลงาน นศ ได้ใช้ประโยชน์จริง แนบชิ้นงาน เช่น คู่มือ, อินโฟกราฟฟิค แบนเนอร์ เป็นต้น

      โครงสร้างโครงงานสหกิจ (แบบวิจัย)

            บทที่ 1 ข้อมูลขององค์กร ประกอบด้วย ภารกิจ วิสัยทัศน์ โครงสร้างองค์กร ท้ายบท นศ ระบุ ภารกิจที่ตนเองได้รับมอบหมาย และชื่อโครงงาน
            บทที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานวิจัย ตย เช่น โครงงานการสำรวจความพึงพอใจผู้รับบริการ สนง คุมประพฤติ ข้อมูลในบทนี้จะเกี่ยวกับ ที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธี วรรณกรรม 
            บทที่ 3 ผลการศึกษา สรุป ข้อเสนอแนะ
            บทที่ 4 นำเสนอโครงงาน /ผลงาน ที่จัดทำให้แก่องค์กร
            บทสุดท้าย ภาคผนวก แสดงการใช้ประโยชน์ของโครงงาน นำเสนอในรูปแบบภาพถ่าย หรือ จม ราชการตย จม ของสำนักงานขอให้ อปท เผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ดังกล่าว กระบวนการในส่วนนี้ เป็นการทำให้เห็นว่า ผลงาน นศ ได้ใช้ประโยชน์จริง


3.การเปลี่ยนสถานประกอบการสหกิจศึกษา
      นักศึกษาทุกคนมีสิทธิในการเปลี่ยนสถานที่สหกิจศึกษาได้ ภายใต้เงื่อนไข

            1 หลังจากเริ่มปฏิบัติงาน ไม่เกิน 2 สัปดาห์แรก 
            2. มีเหตุผลอันสมควร ดังนี้ ปัญหาในเรื่องของ  คุณภาพงาน  ความปลอดภัยในการทำงาน  สุขภาพ ค่าครองชีพ และปัญหาส่วนตัว

      โดยมีขั้นตอน ดังนี้

            1. แจ้งขอย้ายสถานที่สหกิจศึกษา พร้อมระบุ สาเหตุ ผ่านทาง อาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่สหกิจศึกษา  โดยห้ามแจ้งสำนักงานว่าจะย้าย หากยังไม่ได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา
            2. อาจารย์ที่ปรึกษากับเจ้าหน้าที่สหกิจศึกษา ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสองฝ่าย นักศึกษา  พี่เลี้ยงจากสถานประกอบการ  และหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน  หรือทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดความยินยอมให้ย้ายสถานที่จากสถานประกอบการด้วย       
            3. ถ้าสถานประกอบการเข้าใจและยินยอมให้ย้าย  งานสหกิจศึกษา  จะดำเนินการแจ้งนักศึกษา ในการ จัดหาสถานที่สหกิจศึกษาแห่งใหม่ ภายใน 1 สัปดาห์  เพื่อให้นักศึกษา สามารถปฏิบัติงานสหกิจศึกษาอย่างต่อเนื่อง และจะต้องเริ่มนับเวลาใหม่เพื่อให้ครบ 16 สัปดาห์


4.การนิเทศสหกิจศึกษา
      อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาจะนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงสัปดาห์ที่ 12-15 ของการปฏิบัติสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ

      4.1 วัตถุประสงค์ของการนิเทศสหกิจศึกษา
          1. ดูแล ติดตามการปฏิบัติสหกิจศึกษาของนักศึกษา
          2. สร้างขวัญ และกำลังใจแก่นักศึกษาที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน
          3. ประเมินผลการดำเนินงานและรวบรวมข้อมูลแก่มหาวิทยาลัย
          4. ประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการ

      4.2 ขั้นตอนการนิเทศสหกิจศึกษา
          โดยมีเงื่อนไขตามมาตรฐานสมาคมสหกิจศึกษาไทย  คือห้ามนิเทศนักศึกษาน้อยกว่าสถานที่ละ 1 ชั่วโมง และห้ามเกิน 2 หน่วยงาน ใน 1 วัน

      ขั้นตอนการนิเทศ
          - ขอพบนักศึกษาก่อนโดยลำพัง
          - ขอพบพนักงานที่ปรึกษา โดยลำพัง
          - ขอพบพนักงานที่ปรึกษาและนักศึกษาพร้อมกัน

      หัวข้อการประสานงานกับพนักงานที่ปรึกษา ระหว่างการนิเทศงาน ได้แก่
         1. ลักษณะงานที่มอบหมายให้นักศึกษาปฏิบัติ
         2. แผนการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน
         3. หัวข้อรายงานทางวิชาการและความก้าวหน้า
         4. การพัฒนาตนเองของนักศึกษา
         5. ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาและความประพฤติ
         6. ปัญหาต่างๆที่อาจจะมี


5. เกณฑ์การประเมินรายวิชาสหกิจศึกษา

         เกณฑ์การให้คะแนนวิชาปฏิบัติสหกิจศึกษา (ปฏิบัติสหกิจ ณ หน่วยงาน) 100 คะแนน มีการประเมินและให้คะแนน 3 ส่วน ดังนี้

         1. การให้คะแนนโดยหน่วยงานสถานประกอบการ  50 คะแนน
         
2. การให้คะแนนโดยอาจารย์นิเทศสหกิจ 40 คะแนน
                  แบ่งเป็น a. คะแนนโครงงาน   30   คะแนน
                  โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
                  ให้ข้อมูลครอบคลุมตามสร้างสร้างโครงงานบทที่ 1 และ 2       ( 15 คะแนน )
                  ความสอดคล้อง เหมาะสมระหว่าง หัวข้อโครงงาน สถานที่ปฏิบัติงาน/ ภาระงาน   ( 5 คะแนน )
                  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของโครงงาน (คำผิด การจัดหน้า การอ้างอิง)            ( 5 คะแนน )
                  การบรรลุถึงเป้าหมายของงานสหกิจ (หน่วยงานได้ใช้ประโยชน์)                     ( 5 คะแนน )
                  คะแนนพัฒนาการของนักศึกษา   ( 10 คะแนน )
         3. การให้คะแนนโดยเจ้าหน้าที่สหกิจศึกษา (คะแนนจิตพิสัย) 10 คะแนน
            คะแนนได้มาจากการให้ความร่วมมือ การเข้าร่วมกิจกรรม การส่งงาน การส่งใบประเมิน การกรอกข้อมูลในระบบตรงเวลา

6. เงื่อนไขการสำเร็จการปฏิบัติสหกิจของนักศึกษา

         1. นักศึกษามีการปฏิบัติสหกิจศึกษาอย่างน้อย 16 สัปดาห์
         2. นักศึกษาได้รับการนิเทศ อย่างน้อย 1 ครั้ง  ณ สถานประกอบการ หรือโทรศัพท์ หรือออนไลน์
         3. นักศึกษาได้รับการแนะนำและติดตามจากอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจ อย่างน้อย  3 ครั้ง  ณ สถานประกอบการ หรือทางโทรศัพท์ หรือออนไลน์ หรือE-mail
                  ครั้งที่ 1 ในระหว่างสัปดาห์ที่ 1-2 ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพนักงานที่ปรึกษา ตำแหน่งงาน ข้อมูลสถานประกอบการ ภาระงานของนักศึกษา
                  ครั้งที่ 2 ในระหว่างสัปดาห์ที่ 4-7  ในประเด็นหัวข้อโครงงานบทที่ 1-2 และ ปัญหาและสภาพการปฏิบัติสหกิจ
                  ครั้งที่ 3 ในระหว่างสัปดาห์ที่  8-12 ในประเด็นการติดตามความคืบหน้าของการทำโครงงานในบทที่ 3-4 
                  ระหว่างสัปดาห์ที่ 1 นักศึกษาจะต้องส่งแบบฟอร์มแจ้งสถานที่ปฏิบัติงาน ชื่อพนักงานที่ปรึกษา
                  หน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย ที่พัก หมายเลขโทรศัพท์ และโทรสาร ที่จะสามารถติดต่อนักศึกษาและพนักงานที่ปรึกษาได้
                  ระหว่างสัปดาห์ที่ 2 นักศึกษาจะต้องส่งแบบฟอร์มแจ้งการปฏิบัติงานมายังฝ่ายสหกิจศึกษา อยู่ในเว็บสหกิจศึกษา http://coedu.polsci.pn.psu.ac.th/
                  ระหว่างสัปดาห์ที่ 3 นักศึกษาจะต้องส่งแบบฟอร์มหัวข้อรายงานวิชาการและโครงเรื่องเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาตรวจสอบและให้คำแนะนำก่อนเริ่มการเขียนรายงาน หากนักศึกษายังไม่สามารถกำหนดหัวข้อรายงานได้ ให้ส่งทันทีที่มีหัวข้อและโครงเรื่องแล้วจากนั้นนักศึกษาเริ่มจัดทำรายงานได้ทันที หากอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาจะให้ข้อแนะนำเพิ่มเติมฝ่ายสหกิจศึกษาจะส่งโครงเรื่องที่แก้ไขแล้วให้นักศึกษาหรือให้คำปรึกษาระหว่างการนิเทศการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ในกรณีที่พนักงานที่ปรึกษาไม่มีเวลาเขียนข้อมูลในแบบฟอร์มต่างๆ นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาโดยการซักถามพนักงานที่ปรึกษาด้วยวาจาแล้วเป็นผู้เขียนข้อมูลเอง จากนั้นให้นำไปให้พนักงานที่ปรึกษาตรวจสอบและลงนาม ซึ่งจะเป็นการประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกแก่พนักงานที่ปรึกษา หากขัดข้องประการใดไม่สามารถส่งเอกสารถึงฝ่ายสหกิจศึกษาและการฝึกงานได้ตามกำหนด ควรรายงานฝ่ายสหกิจศึกษาทางจดหมายหรือโทรศัพท์ หรือทาง E-mail ทันที นักศึกษาต้องส่งรายงานให้แก่พนักงานที่ปรึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน และแก้ไขให้เป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์
         4. นักศึกษาจัดทำรายงาน โครงงานและนำเสนอการศึกษาต่อสถานประกอบการ
         5. นักศึกษาได้รับการประเมินจากสถานประกอบการและนำส่งผลการประเมิน
         6. นักศึกษาได้รับการประเมินผ่านในระดับ D ขึ้นไป
         7. นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศสหกิจศึกษาและปัจฉิมนิเทศสหกิจศึกษา


7. สิทธิและสวัสดิการระหว่างสหกิจศึกษา

            1. เบิกค่ารักษาพยาบาล ตามสิทธิของนักศึกษามหาวิทยาลัย
             2. สิทธิลาป่วยไม่เกิน 7 วัน (หากเกิน 2 วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์) โดยแจ้งแก่หน่วยงานที่ฝึกสหกิจฯ
             3. สิทธิลากิจตามที่หน่วยงานพิจารณา
             4. สิทธิการเปลี่ยนสถานที่สหกิจศึกษาได้ 1 ครั้ง หากมีเหตุสมควร โดยต้องผ่านการปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสหกิจศึกษาของคณะรัฐศาสตร์ โดยดำเนินการภายใน  1 เดือนแรกของการสหกิจศึกษา ผ่านแบบฟอร์มการเปลี่ยนสถานที่สหกิจศึกษา (xxx)
             5. การได้รับเบี้ยเลี้ยงและค่าตอบแทน ขึ้นอยู่กับการตกลงกับหน่วยงานฝึกสหกิจฯ ทั้งนี้อาจอยู่ในรูปแบบ อาหารกลางวัน ค่าเดินทาง ที่พักอาศัย เป็นต้น

8. การให้นักศึกษาสหกิจศึกษากลับจากสถานประกอบการก่อนสิ้นสุดการปฏิบัติงาน

            กรณีนักศึกษาสหกิจศึกษากลับจากสถานประกอบการก่อนสิ้นสุดการปฏิบัติงาน อาจเกิดขึ้นได้ดังกรณีต่อไปนี้
             1. สถานประกอบการแจ้งความประสงค์ขอส่งตัวนักศึกษากลับก่อนสิ้นสุดการปฏิบัติงาน หรือแจ้งความประสงค์ขอให้นักศึกษายุติการปฏิบัติงาน โดยการแจ้งอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรมายังงานสหกิจศึกษา คณะรัฐศาสตร์
             2. นักศึกษาสหกิจศึกษาได้รับการปฏิบัติจากสถานประกอบการไม่เหมาะสมซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ  สูญเสีย ต่อร่างกาย จิตใจ หรือชื่อเสียง
             3. มีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ซึ่งคณะกรรมการสหกิจศึกษาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้ยุติการปฏิบัติสหกิจ
               ทั้งนี้การพิจารณาจะอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการสหกิจร่วมกับพนักงานที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา โดยจะรับนักศึกษากลับก่อนการสิ้นสุดการปฏิบัติงาน